สะระแหน่ พืชสวนครัว
สะระแหน่
สะระแหน่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), ขะแยะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้) เป็นต้น
มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะใบจะคล้ายคลึงกับพืชในตระกูลมิ้นต์มาก มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติจะคล้าย ๆ กับตะไคร้หอมและมะนาว
สะระแหน่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น และยังให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี่ (ใน 100 กรัม) โดยใบสะระแหน่นั้นควรเลือกใช้ใบสดและยอดอ่อนจะได้สรรพคุณที่ดีกว่าใบแห้ง

ประโยชน์ของสะระแหน่
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
- ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
- ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหลได้ ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
- ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เจ็บปาก เจ็บลิ้น ปวดคอ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
- ช่วยแก้แผลในปากด้วยน้ำสะระแหน่ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
- ช่วยระงับกลิ่นปากได้อีกด้วย
- ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหาร
- ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง อาการบิด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
- ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ช่วยแก้อาการจุกเสียดในท้องเด็ก ด้วยการใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดผสมกับยาหอมแล้วนำมากวาดคอเด็ก
- ช่วยลดอาการหดเกร็งของลำไส้
- ช่วยรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
- ช่วยผ่อนคลายความกดดันของกล้ามเนื้อซึ่งมาจากความเหนื่อยล้า
- กลิ่นของใบสะระแหน่ช่วยในการไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ Slotxo ด้วยการนำใบมาบดแล้วนำมาทาที่ผิว
- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำใบสะระแหน่มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
- ช่วยระงับอาการปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวด
- ช่วยแก้อาการปวดบวม ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณดังกล่าว
- นำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะได้
- ช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
- นำไปใช้ทำเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทำการบำบัดโดยใช้กลิ่น (อโรมาเธอราพี)
- มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม ชาสมุนไพร
- ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
- นิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารหรือรับประทานสด ๆ ควบคู่ไปกับลาบ น้ำตก เป็นต้น
- ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร ชวนให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
- ใบสะระแหน่ช่วยลดกลิ่นคาวของอาหารอย่างลาบ ยำ และพล่าได้
- ใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มต่าง ๆและเหล่าได้
- ใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สด ขนมหวาน
- สะระแหน่ สามารถนำมาสกัดเอาสารเพื่อใช้ในการทำเป็นลูกอม หมากฝรั่งรสมิ้นต์ ชาสะระแหน่
โทษของสะระแหน่
สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้
- สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
- สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
- สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก
4 โรคร้ายรักษาได้ด้วย สะระแหน่
1. โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ
ด้วยฤทธิ์เย็นของสะระแหน่ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และคล่องตัวยิ่งขึ้น ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ บาคาร่า อย่างผู้ป่วยหอบหืด จึงสามารถทานใบสะระแหน่สดๆ หรือดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองในหลอดลม หรือทางเดินหายใจภายในได้
2. อาการปวดศีรษะจากไมเกรน
เมื่อมีอาการปวดศีรษะจากไมเกรน เพียงดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ อาจผสมเกลือเล็กน้อย และดื่มเช้า-เย็น จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
3. อาการท้องร่วง ปวดท้องบิด
เพียงแค่ทานใบสะระแหน่สดๆ 1 กำมือเล็ก หรือน้ำต้มใบสะระแหน่ ก็จะช่วยรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้องบิด รวมไปถึงท้องอืดท้องเฟ้อ หรือจุกเสียดแน่นท้องได้เช่นกัน เพราะสะระแหน่มีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ และช่วยย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น
4. โรคไทรอยด์
ปรับสมดุลของการทำงานของไทรอยด์ ด้วยการทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น สะระแหน่ถือเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น และให้รสชาติที่สดชื่น ตำให้ละเอียด ทานสดๆ หรือดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ หรือผสมกับชาร้อนก็ได้เช่นกัน

การปลูกและดูแลรักษา สะระแหน่
ถ้าจะปลูกสะระแหน่ในภาชนะ เช่น กระถาง ลังไม้ หรือจะปลูกเป็นสวนหย่อมประดับบ้าน ปลูกในแปลงประดับสวนเล็ก ๆ ที่ใช้เนื้อที่ปลูกไม่มากนัก ควรใช้ดินผสมที่มีส่วนผสมของดิน2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วนำไปใช้ปลูกได้
แต่ถ้ามีเนื้อที่พอสมควรที่จะปลูกเป็นแปลง ๆ ไว้ข้างบ้านได้ก็ควรเตรียมดิน โดยขุดดินขึ้นมาตากแดดไว้ประมาณ 7 วัน จนดินร่วงแตก และเอาปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักโรยทับลงไป โรยปูนขาวทับบาง ๆ อีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ 3 วัน จึงกลับดิน พรวนดินและคลุกเคล้าดิน ให้ร่วนเข้ากันดี ถ้าดินเป็นดินเป็นดินเหนียวมาก ควรเติมทรายลงไปผสมด้วยซักเล็กน้อย พอให้ดินร่วงซุยขึ้น
มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเอาเสียเลยในหมู่คนไทยบางกลุ่มที่เกี่ยวกับสะระแหน่ว่าสะระแหน่ไม่ชอบผู้หญิงมีประจำเดือน เวลาให้หญิงมีประจำเดือนไปเด็ดยอดสะระแหน่ สะระแหน่ทั้งกอจะเฉาตายไปหมด หรือไม่ก็อย่าได้ให้หญิงมีประจำเดือนเป็นคนปลูกสะระแหน่เป็นอันขาด เพราะ สะระแหน่จะไม่เจริญเติบโต เรื่องนี้น่าเป็นเรื่องเล่าออกจากปากหญิงมีประจำเดือนที่ขี้เกียจปลูกต้นไม้มากกว่า ( เมฆ จันทน์ประยูร, 2541) การปลูกสะระแหน่นั้นจะใช้วิธีปักลงไปในแปลงปลูกเลย หรือจะชำในแปลงเพาะก่อนแล้วจึงย้ายมาปลูกก็ได้เช่นกัน แต่ข้อสำคัญคือต้องเตรียมดินให้ร่วงซุยเสียก่อน ( กองบรรณาธิการ“ ฐานเกษตรกรรม”,2545 ) ในการปลูกเลือกกิ่งสะระแหน่ที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ตัดยอดของลำต้นยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ปักจิ้มลงในแปลงเพาะชำ หรือแปลงปลูก ก่อปักชำต้องรดน้ำให้ชุ่ม ปักให้เอนทาบกับดิน รดน้ำให้ชุ่มเพื่อรักษาความชื้นให้หน้าดิน เพราะสะระแหน่ชอบดินร่วงซุย ชอบขึ้นตามที่ลุ่มชื้นแฉะ เมื่อแกลบผุก็จะกลายเป็นปุ๋ย ต้องการดินร่วนซุยแต่ไม่ต้องแสงแดดมากนัก ปลูกในที่ร่มรำไร( บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา, 2546 ) สมัยโบราณชาวบ้านชอบปลูกสะระแหน่ในลังไม้หรือใส่กะละมังตั้งไว้ใกล้กับบันไดบ้าน และมักใช้น้ำคาวปลารดต้นสะระแหน่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้แตกยอดและใบงาม
การดูแลรักษา
เมื่อสะระแหน่เจริญเติบโตจนเก็บยอดไปได้แล้ว ควรเติมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้บ้าง ไม่ควรใส่สารเคมี เพราะถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นสะระแหน่เหี่ยวตาย การพรวนดินให้ต้นสะระแหน่
เว็บไซต์บันเทิง : PG SLOT , PG SLOT , อนิเมะ , ซีรี่ย์ , ซูปเปอร์คาร์ , สุขภาพ