อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจ

อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด

- อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจ จำกัดไขมันและอาหารที่มีคอเลสเตอรอล
อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือดสูง หรือคนที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจแต่ไขมันในเลือดสูง การควบคุมอาหารประเภทไขมันจะช่วยลด และชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้
1.1 รับประทานกรดไขมันอิ่มตัวน้อยลง
กรดไขมันอิ่มตัวพบมากจากไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม นำมันมะพร้าว กะทิ นอกจากนี้ยังพบได้ใน นม เนย ชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง หมูยอ แฮม
1.2 รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้เพียงพอ
ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน
1.3 รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงน้อยลง
อาหารที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงมักพบได้จากไขมันสัตว์ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกขาหมู ข้าวมันไก่ หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ไข่แดง อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยกเว้นเนื้อปลา เนื่องจากเป็นเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ประเภท Fast Food เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ ฯลฯ
รวมทั้งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้ พาย โดนัท เป็นต้น
2.หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด และหวานจัด
โดยการหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ซอสปรุงรส ผงชูรสต่างๆ
หลีกเลี่ยงอาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้เค็มๆ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ รวมทั้งผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า ฯลฯ
3.เน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง เป็นประจำ
อาหารที่มีกากหรือเส้นใยสูงมีประโยชน์กับสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลดการเกิดโรคหัวใจได้
อาหารจำพวกข้าวที่มีเส้นใยมาก ได้แก่ ผักและผลไม้ ซีเรียล ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวิท จมูกข้าว หัวบุก เป็นต้น
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม
เนื่องจากมีสารคาเฟอีน มีผลกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง
5.งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
1.เลือกอาหารที่ทำให้สุขภาพดี และลดการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด มันจัด
2.ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วน โดยรักษาดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 กก./ม2
3.ควบคุมความดันโลหิต < 140 /90 mmHg ในคนส่วนใหญ่ และ < 130/80 mmHg ในกลุ่มเฉพาะ
4.ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล < 200 มก./ดล.
5.ควบคุมระดับไขมันแอลดีแอล – คอเลสเตอรอล <150 มก./ดล.
6.ควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ <150 มก./ดล.
7.งดการสูบบุหรี่ และลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
8.ออกกำลังกาย
9.ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส ลดความเครียด
ปริมาณพลังงานที่เหมาะสม สำหรับในแต่ละเพศและวัย
– ผู้หญิงวัยทำงาน ผู้สูงอายุ
ควรได้รับพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี่
– กลุ่มวัยรุ่นชายและหญิง ผู้ชายวัยทำงาน
ควรได้รับพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่
– กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นักกีฬา
ควรได้รับพลังงานวันละ 2,400 กิโลแคลอรี่
ในแต่ละปี มีผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่่งหนึ่งในสาเหตุนั่นก็คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ระมัดระวัง ทั้งความเครียดจากการทำงาน หรือแม้แต่อาหารการกินที่คุณเลือกทาน อย่าปล่อยให้ “ความละเลย” ย้อนกลับมาทำร้าย “หัวใจ”
มี 8 อาหารอร่อย ที่ช่วยบำรุงหัวใจเพื่อเติมความแข็งแรงมาแนะนำ
8 Healthy Ingredients ที่แนะนำ
1. ถั่วฝักยาว เป็นหนึ่งในพืชตะกูลถั่ว ที่นับว่าเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเลิศที่ไม่มีไขมันเลว โดยมีการศึกษาและค้นพบว่า คนที่กินพืชตระกูลถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วฝักยาว ถั่วพู หรือถั่วแขก ให้ได้อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลงไปได้ถึง 22% รวมถึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นเบาหวาน เพราะหนึ่งในโรคนั้น นั่นก็คือ “โรคหัวใจ”
2. บีทรูท เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไนเตรท ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดการสะสมของไขมันและลดการอุดตันในกระแสเลือด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่าบีทรูทยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย หลังทานอาหารมื้อต่อไป ลองหาน้ำบีทรูทสกัดเย็นดื่มสักแก้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพหัวใจให้ห่างไกลโรคกัน
3. แซลมอน เมื่อพูดถึง “แซลมอน” ต้องยอมรับเลยว่านี่คือแหล่วงโอเมก้า-3 ชั้นดี ที่นอกจากจะช่วยบำรุงสมองเสริมความจำแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Irregular Heart Beat) ได้ดีอีกด้วย เพราะในปลาแซลมอนนั้นอุดมไปด้วยกรดอีโคซะเพนตะอีโนอิก(Eicosapentaenoic Acid) และกรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก(Docosahexaenoic Acid) หรือกรดดีเอชเอ(DHA) ที่มีส่วนช่วยในการลดการติดเชื้อ ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว การเกิดหัวใจวาย และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดัน รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงอีกด้วย
4. กระเทียม ไม่ว่าจะทำเมนูไหน กระเทียมกแทบจะเป็นวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้ และสิ่งที่เรารับรู้หรือได้ยินกันมาตลอดนั่นก็คือ กระเทียมเป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลอย่างดี โดยการช่วยทำลายคอเลสเตอรอลและไขมันที่ติดอยู่กับผนังด้านในของหลอดเลือด และทำให้เกิดความยืดหยุ่น เมื่อเลือดไหลเวียนสะดวก หลอดเลือดแข็งแรง ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ
5. ดาร์กช็อกโกแลต เหล่าช็อกโกแลตเลิฟเวอร์เตรียมตัวเฮกันได้เลย เพราะมีการศึกษามาแล้วว่า ดาร์กช็อกโกแลตนั้นมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องของความดันโลหิต ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด รวมถึงช่วยลดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูงได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าช็อกโกแลตทุกอย่างที่จะดีต่อหัวใจ เพราะช็อกโกแลตที่เราบอกมานั้น จะต้องทำมาจากโกโก้อย่างน้อย 60-70% ไม่ใช่ช็อกโกแลตนมแสนอร่อยที่มีโกโก้เป็นส่วนผมอยู่เพียงน้อยนิด
6. บลูเบอร์รี่ ความจริงแล้วไม่ใช่แค่บลูเบอร์รี่เท่านั้นที่มีประโยช์ แต่ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่อื่น ๆ ทั้งสตรอว์เบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ ต่างก็มีประโยชน์ต่อหัวใจมากเช่นกัน ยิ่งถ้าในกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ถ้าได้ทานผลไม้ตระกูลนี้เป็นประจำ มักพบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายลงได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยทาน เพราะในผลไม้ตระกูลนี้มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารฟลาโวนอยด์(Flavonoid) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่ช่วยลดความดันโลหิตและขยายหลอดเลือดหัวใจได้ดี
7. แปะก๊วย หนึ่งในสมุนไพรชั้นเลิศที่ขึ้นชื่อเรื่องของการบำรุงสมอง ช่วยให้มีความจำดีขึ้น ลดอาการขี้หลงขี้ลืม เรียกว่าเป็นยาธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ใบแปะก๊วยก็ยังมีสรรพคุณในการช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและลดการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เพราะถ้าเลือดสาารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี ก็ถือว่าเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้เหมือนกัน
8. ถั่ววอลนัท ช่วยให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดทำงานได้ดี ช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และยังลดความเสี่ยงโรคหัวใจอีกด้วย